บทบาทและหน้าที่ของสมาคมฯ


           ภารกิจ (Mission ) สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ไทย – พม่า เป็นประตู / ช่องทางสร้างการเป็นหุ้นส่วนทั้งทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจระหว่าง ไทย – พม่า ในลักษณะการมีผลประโยชน์ร่วมที่เท่าเทียมกัน
           เจตนารมณ์ (Intention)
     ๑. จักบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดแบบบูรณาการเชิงรุกให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ ตามบทบาท ด้วยความปรารถนาดีและจริงใจด้วยวุฒิภาวะของผู้นำ และแนวทางการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลอย่างมีจรรยาบรรณ เพื่อสานต่องานตามเจตนารมณ์ของอดีตนายกสมาคม อีกทั้งจักปรับปรุงในการพัฒนาสมาคมให้มีความพร้อมอย่างแท้จริง ทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้ เทคโนโลยี โดยอาศัยหลักนิยมสากลเพื่อมุ่งเน้นในการสนองตอบวัตถุประสงค์ของสมาคมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๒. จักให้ความสำคัญต่อคณะกรรมการทุกท่าน ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าที่สุดในการบริหารงาน โดยยินดีรับฟังข้อเสนอแนะและแนวคิดในทางสร้างสรรค์อย่างมีเหตุผล เพื่อการมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติประกอบการตัดสินใจเพื่อผล ต่อความสำเร็จต่อภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างสรรค์สันติภาพความผาสุก ความมั่งคั่ง และการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เกิดกับประชาชนทั้งในประเทศไทย และประเทศพม่าอย่างเสมอภาคกัน
     ๓. จักให้ความสำคัญต่อการรณณรงค์ในการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตามแนวชายแดนได้ ใช้จุดเด่นในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม และศาสนา ผสมผสานกับการบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าในการประกอบอาชีพ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของประเทศไทยและประเทศพม่า อย่างเคร่งครัด อีกทั้งหลีกเลี่ยงในการละเมิดศีลธรรมและวัฒนธรรมที่ดีของทั้งสองประเทศ เพื่อยังประโยชน์ต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตในแผ่นดินมาตุภูมิ อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความมั่นคงที่ยั่งยืน
     ๔. จักส่งเสริมและสร้างจำนวนนักธุรกิจไทย ให้ยึดการมีผลประโยชน์ร่วมที่เท่าเทียมกันจนถึงระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ  ๙๐
     ๕. จักลดพฤติกรรมที่มุ่งผลประโยชน์ส่วนตนของกรรมการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ  ไทย – พม่า ให้เหลือน้อยที่สุด
     ๖. จักเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้นำ นักธุรกิจ และชุมชนพม่า ที่มีต่อนักธุรกิจไทยให้สูงจนถึงระดับการเป็นหุ้นส่วนร่วมของนักธุรกิจ ไทยอยู่ในระดับนำของอาเซียน 
     วัตถุประสงค์หลัก (Strategic  Objective)  เพิ่มจำนวนนักธุรกิจไทย จำนวนวงเงินของภาคเอกชน และจำนวนโครงการ / กิจกรรม ร่วมลงทุนในประเทศพม่าให้สูงขึ้น 
     กลยุทธ์หลัก  (Strategy)
     ๑. ลดพฤติกรรมการเอาเปรียบของนักธุรกิจไทยที่มีด้วยมาตรการการตรวจสอบตามข้อบังคับและมติการประชุมของสมาคม ฯ
     ๒. ส่งเสริมนักธุรกิจไทยที่มีพฤติกรรมในลักษณะการมีผลประโยชน์ร่วมที่เท่าเทียม กัน ด้วยมาตรการการตรวจสอบตามข้อบังคับและมติการประชุมของสมาคม ฯ
     ๓. ลดพฤติกรรมการมุ่งผลประโยชน์ส่วนตน ของกรรมการสมาคม ฯ ด้วยมาตรการจูงใจและลงโทษตามข้อบังคับและมติการประชุมของสมาคม ฯ
     ๔. ขยายการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาคมวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจ ไทย – พม่า และสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พม่า – ไทย ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ และการประชุมร่วมเพื่อหาแนวทาง / หลักการปฏิบัติร่วมของทั้งสองสมาคม
     ๕. ให้ผู้นำและชุมชนพม่ารับทราบนโยบายและการดำเนินการของสมาคมวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจ  ไทย – พม่า ผ่านทางสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พม่า – ไทย และชุดติดต่อ
            นโยบายทั่วไป
            ๑. คณะกรรมการสมาคม ฯ ทุกคน
   ๑.๑ ต้องมีความสำนึกในหน้าที่ตามข้อบังคับของสมาคมโดยจะต้องปฏิบัติงานด้วยความ เสียสละ  ริเริ่ม  รอบคอบ  รวดเร็ว  และรับผิดชอบ ให้เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในแนวคิดของหลักประสิทธิภาพ คือการทำงานโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุด ภายใต้วิธีการที่ดีที่สุด ด้วยอุดมการณ์ในการบูรณาการหลักการ  หลักฐาน  และหลักนิยมไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการวางแผนการปฏิบัติทุกขั้นตอนและมีการประเมินผล พิจารณาข้อเสนอแนะและการแก้ปัญหาข้อขัดข้องตลอดจนผลกระทบต่อการปฏิบัติ ภารกิจ
   ๑.๒ ต้องมีองค์ความรู้ ทั้งในทฤษฎี , เทคโนโลยี และวิธีการบริหารงานที่พร้อมด้วยคุณสมบัติของนักบริหาร  กอปร ด้วยความรู้ที่ต้องขวนขวายหมั่นศึกษาอบรมอย่างมีระบบทันสมัย มีทักษะ และพฤติกรรมเข้ากับบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ทุกระดับ อีกทั้งต้องใช้วุฒิภาวะผู้นำ ที่มีจรรยาบรรณในการสร้างจินตนาการของมาตรฐานแห่งความดีให้ทุกคนมีความ ศรัทธาเชื่อถือด้วยความบริสุทธิ์ใจ อาศัยบทบาทของการมีมนุษย์สัมพันธ์ถึงผู้ร่วมงานโดยระบบการสื่อสารและการ ประสานงาน ทั้ง ๓ ทิศทาง คือ ทางดิ่ง , ทางระดับ  และด้านทแยง
            ๒. ให้มีการรับรองจากสมาคม ฯ แก่นักธุรกิจไทยที่ดำเนินธุรกิจร่วมในลักษณะไม่อาเปรียบและมีผลประโยชน์ร่วม ที่เท่าเทียมกันทั้ง ไทยและพม่า
            ๓. ข้อบังคับของสมาคม ฯ ที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและกลยุทธ์ของสมาคมให้คณะกรรมสมาคม พิจารณาดำเนินการปรับปรุงให้เหมาะสมและเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ของ สมาคม ฯ ต่อไป
            ๔. ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทั้งภายนอกและภายในประเทศพม่าโดยเฉพาะการสนับสนุนชนกลุ่มน้อยในการสู้รบ
            ๕. ไม่ทำการค้าที่ผิดต่อกฎหมายไทยและกฎหมายของประเทศพม่า ดังเช่น การลักลอบตัดไม้ การลักลอบจับปลา ตลาดมืด ฯลฯ
               นโยบายเฉพาะ
                   ๑. การปฏิบัติงานประจำ
        ๑.๑ การขออนุมัติหลักการแผนงานและโครงการของสมาคม ฯ ให้กรรมการฝ่ายทุกฝ่ายและกรรมสมาคม ฯ สาขาทุกสาขา รายงานตามลำดับชั้น ผ่านอนุกรรมการที่รับผิดชอบจนถึงนายกสมาคม ฯ
        ๑.๒ การประชุมคณะกรรมการสมาคม ฯ เกณฑ์ปกติให้ประชุม ๓ เดือน / ครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนกรรมการสมาคม ฯ มากเกินไปเว้นกรณีมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนต้องพิจารณาให้ทันเวลาสามารถเรียก ประชุมวาระเร่งด่วนได้ทันทีโดยแจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์
        ๑.๓ การรายงานผลการปฏิบัติงานของกรรมการฝ่ายและประธานสมาคม ฯ สาขา ให้รายงานเป็น ๔ ไตรมาส ๆ ละ  ๓  เดือน
        ๑.๔ การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการฝ่ายและประธานสมาคม ฯ สาขา ให้ประเมินรอบ ๖ เดือน และรอบ ๑ ปี เว้นกรณีมีเหตุเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย หรือมติที่ประชุมสมาคม ฯ ให้ตั้งอนุกรรมการขึ้นสอบสวนเป็นกรณีเร่งด่วนต่อไป
         ๑.๕ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ไทย – พม่า และสมาคม ฯ คู่แฝดให้ดำเนินการเป็น ๔ ไตรมาส ๆ ละ  ๓  เดือน เว้นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนให้ดำเนินการทันที
          ๑.๖ การรายงานข้อมูลข่าวสารให้กับผู้นำ และชุมชนพม่าเพื่อทราบนโยบายและการดำเนินกิจกรรมของสมาคม ฯ ให้ดำเนินการอย่างเป็นทางการเป็น ๔ ไตรมาส ๆ ละ  ๓  เดือน เว้นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนให้ดำเนินการทันที สำหรับการดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการให้ดำเนินการตามความเหมาะสม
          ๑.๗ กรณีมีงานประจำต้องปฏิบัติเป็นจำนวนมากให้สมาคม ฯ สาขาและสมาคม ฯ ส่วนกลาง จ้างบุคลากรจากภายนอกสมาคม ฯ ได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากนายกสมาคม ฯ ก่อน
          ๑.๘ ให้อุปนายกสมาคม ฯ เลขาธิการสมาคม ฯ และหัวหน้าสำนักงานและธุรการรวม ๘ ท่าน รับผิดชอบกำกับดูแลการดำเนินงานของสมาคม ฯ สาขาให้เป็นไปตามข้อบังคับและนโยบายของนายกสมาคม ฯ ท่านละ ๑ สาขา
                  ๒. การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
          ๒.๑ ให้มีอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบและรับรองมาตรฐานผลงานและความประพฤติของนัก ธุรกิจไทยก่อนให้สมาคม ฯ โดยนายกสมาคม ฯ ออกหนังสือรับรอง ทั้งนี้สามารถจ้างบุคลากรจากภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์มาช่วยดำเนินการได้
          ๒.๒ ให้มีอนุกรรมการเพื่อกลั่นกรองและตรวจสอบความเหมาะสมของหลักการ แผนงาน และโครงการของสมาคม ฯ ก่อนเสนอให้นายกสมาคม ฯ เพื่ออนุมัติต่อไป
          ๒.๓ ให้มีอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการฝ่าย ประธานสมาคม ฯ สาขา และคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทย – พม่า ร่วมพัฒนาจำกัด โดยให้จ้างบุคลากรจากภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถ มาเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้บุคลากรดังกล่าวต้องผ่านความเห็นชอบจากมติที่ประชุมคณะกรรมการสมาคม ฯ และได้รับอนุมัติจากนายกสมาคม ฯ ก่อน
           ๒.๔ ให้สมาคม ฯ สาขา มีอนุกรรมการสาขาด้านต่าง ๆ เช่น อนุกรรมการเพื่อกลั่นกรองและตรวจสอบ ฯ เพื่อดำเนินกิจกรรมของสมาคม ฯ สาขา เช่นเดียวกับอนุกรรมการของสมาคม ฯ โดยอนุโลม
           ๒.๕ ห้ามมิให้กรรมการสมาคม ฯ และกรรมการสมาคม ฯ สาขา ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจส่วนตัว โดยมิได้ผ่านการกลั่นกรองของอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องและการเสนอให้นายกสมาคม ฯ ออกหนังสือรับรอง
            ๒.๖ ให้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งรายงานผลการปฏิบัติให้นายกสมาคม ฯ ทราบเป็น ๔ ไตรมาส ๆ ละ  ๓  เดือน และเมื่อจบภารกิจที่มีความสำคัญส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของสมาคม ฯ
             ๓. การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ไทย – พม่า ร่วมพัฒนา จำกัด
             ๓.๑ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจากกรรมการสมาคม ฯ เพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหารบริษัท ไทย – พม่า ร่วมพัฒนาจำกัดและให้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการดังกล่าวได้ตามความเหมาะสม หลังมีการประเมินผลงานในรอบ ๖ เดือน และรอบ ๑ ปี
              ๓.๒ บริษัท ไทย – พม่า ร่วมพัฒนาจำกัด นอกจากดำเนินธุรกิจกับพม่าในนามของบริษัทแล้วการช่วยประสานงานให้กับนัก ธุรกิจไทยในนามของสมาคม ฯ ให้ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่ง ที่ต้องให้ความสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น